ผู้เขียน หัวข้อ: โรคไต อันตรายกว่าที่คิด ภัยเงียบที่คนไทยป่วยไม่รู้ตัว  (อ่าน 11 ครั้ง)

siritidaphon

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 234
  • รับโพสเว็บ รับจ้างโพส โปรโมทเว็บ รับจ้างโปรโมทเว็บ
    • ดูรายละเอียด
โรคไต อันตรายกว่าที่คิด ภัยเงียบที่คนไทยป่วยไม่รู้ตัว

โรคที่คนไทยป่วยโดยไม่รู้ตัวมากที่สุดถึง 17.5% คือ “โรคไต” เนื่องจากอาหารที่นิยมรับ ประทานกันในปัจจุบันมีปริมาณโซเดียมสูง ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้เกิด โรคไต ไตวายเฉียบพลัน ไตวายเรื้อรัง กรวยไตอักเสบ เนื้อเยื่อไตอักเสบ นิ่วในไต และมะเร็งไต เป็นต้น


โรคไต คืออะไร ?

ไต มีหน้าที่สำคัญในการกรองของเสียรวมถึงควบคุมสมดุลของแร่ธาตุและของเหลวในร่างกาย หากไตมีการทำงานผิดปกติ อาจทำให้ของเสียและน้ำส่วนเกินค้างสะสมอยู่ในร่างกาย และนำไปสู่ โรคไต ส่งผลให้เนื้อไตเสียหาย เนื้อไตตาย ไตทำงานผิดปกติ นั่นเอง สามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบ
แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้

    ไตวายเฉียบพลัน

เป็นภาวะที่ไตสูญเสียการทำงานอย่างฉับพลัน ระยะเวลาน้อยกว่า 3 เดือน มักเกิดจากการขาดน้ำ หรือขาดเลือดไปเลี้ยงไต การติดเชื้อ ยาสมุนไพร อาหารเสริมบางชนิด และการใช้ยาบางชนิด

    ไตวายเรื้อรัง

เป็นภาวะที่ไตทำงานเสื่อมลงอย่างต่อเนื่องระยะเวลามากกว่า 3 เดือนและไม่สามารถรักษาให้ หายขาดได้ มักเกิดจากโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือโรคถุงน้ำในไต


สังเกตอาการแบบไหนเสี่ยง โรคไต

โรคไต มักจะไม่แสดงอาการชัดเจนในระยะแรก ต้องรอจนเป็นมากแล้วจึงจะแสดงอาการต่าง ๆ ให้เห็น จนกระทั่งสามารถสังเกตได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เช่น

    ปัสสาวะผิดปกติ  ปัสสาวะบ่อยขึ้นมากกว่า 3 ครั้งต่อคืน ปัสสาวะมีฟอง ปัสสาวะมีสีเข้มหรือขุ่น ปัสสาวะมีเลือดปน
    บวม บวมที่เท้า ข้อเท้า และขา บวมที่ใบหน้าและรอบดวงตา บวมที่มือและนิ้ว กดบุ๋ม
    ความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตสูงกว่า 140/90 มม.ปรอท  รู้สึกเหนื่อยล้าตลอดเวลา นอนไม่หลับ
    คลื่นไส้และอาเจียน คลื่นไส้และอาเจียนโดยไม่ทราบสาเหตุ  เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
    ผิวหนังแห้งและคัน ผิวหนังแห้งและคันตามตัว


สาเหตุเกิดจากอะไรได้บ้าง ?

    พฤติกรรมการกิน กินเค็ม กินรสจัด บริโภคโซเดียมมากกว่า 2000 มก. ต่อวัน ดื่มน้ำน้อย จนเกิดภาวะขาดน้ำของไต สะสมตะกอนจากอาหารจนกลายเป็นนิ่ว ระวัง!! อาหารที่ไม่เค็มแต่มีโซเดียมสูง เช่น ซอส น้ำจิ้ม อาหารแปรรูป อาหารหมักดอง สารกันบูด สารกันเชื้อรา เป็นต้น
    พันธุกรรม  พบมากจำนวน 1 ใน 800 ถึง 1 ใน 1,000 คนของประชากรในประเทศ หากพ่อและแม่ หากคนใดคนหนึ่งป่วยเป็นโรคไตก็สามารถถูกส่งต่อผ่านทางพันธุกรรม เช่น โรคถุงน้ำในไต, ไตวายจากซีสต์ที่ไตทั้ง 2 ข้าง และ ไตวายที่เกิดร่วมกับหูหนวก
    โรคเรื้อรัง อาทิ โรคป่วยร้ายแรง โรคเบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูงไม่สามารถควบคุมได้และทำลายหลอดเลือดในไต โรคความดันโลหิตสูง หลอดเลือดในไตหนาและแข็งตัว ลดการไหลเวียนของเลือดไปยังไต
    โรคไตอักเสบที่เกิดจากภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ มักพบในคนอายุน้อยและรักษาให้หายขาดได้ เช่น โรคภูมิแพ้ตัวเอง (SLE), โรคไตอักเสบ (IgA Nephropathy)
    ยา และ อาหารเสริม รับประทานทานยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs เป็นประจำ เช่น แอสไพริน ไอบูโพรเฟน ไดโคลฟีแน็ก รับประทานทานอาหารเสริมเป็นประจำ เช่น โสม ถังเช่า เห็ดหลินจือ หนานเฉาเหว่ย และการได้รับสารที่เป็นพิษกับไต เช่น ยาเคมีบำบัดบางชนิด


สาเหตุเกิดจากอะไรได้บ้าง

เกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัยตั้งแต่ เด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และพบได้มากขึ้นในผู้สูงอายุ เนื่องจากการทำงานของไตเสื่อมถอยลงตามช่วงอายุ และยังมีกลุ่มเสี่ยงอื่นๆ ดังนี้

    ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคตับ
    ผู้ที่ทานอาหารรสจัดเป็นประจำ
    ผู้ที่ดื่มน้ำน้อยหรือปริมาณที่ดื่มไม่สัมพันธ์กับร่างกาย
    ผู้ที่รับประทานยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs หรือยาสมุนไพรเป็นประจำ
    ผู้ที่รับประทานอาหารเสริมในปริมาณมากเป็นระยะเวลานาน


รักษาโรคไตให้หายขาดได้ไหม ?

โรคไตสามารถรักษาได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของโรค หากตรวจเจอเร็วพบว่าเป็นโรคไตในระยะเริ่มต้น ก็จะสามารถรักษาได้ทันท่วงที วินิจฉัยโรคและรักษาให้หายเป็นปกติ หรือชะลอความเสื่อมของไตไม่ให้มีความรุนแรงจนต้องฟอกไต แต่หากเจอช้าการรักษาก็จะยากตามไปด้วย โดยมีวิธีการรักษา ดังนี้


การรักษาไตวายเฉียบพลัน

มุ่งเน้นไปที่การหยุดหรือแก้ไขสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน และการรักษาเพื่อลดอาการและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น

1. รักษาที่ต้นเหตุ แก้ไขภาวะช็อก หยุดการใช้ยาในกลุ่ม NSAIDs และยาสมุนไพร รักษาสมดุลของน้ำในร่างกาย การอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะ การติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียบางชนิด

2. การฟอกไต การฟอกไตหรือฟอกเลือดเป็นการรักษาที่จะช่วยทดแทนการทำงานของไตที่เสียไป เพื่อให้ร่างกายยังสามารถทำงานอยู่ในสภาวะสมดุลมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้

3. การรักษาตามอาการ การให้ยาขับปัสสาวะเพื่อลดอาการบวม, ให้การรักษาเพื่อลดความดันโลหิตสูงและป้องกันภาวะหัวใจวาย, ให้การรักษาเพื่อลดอาการปวดและอาการบวมตามร่างกาย


การรักษาไตวายเรื้อรัง

1. การปลูกถ่ายไต สามารถยืดอายุผู้ป่วยเฉลี่ย 10-20 ปี ขึ้นอยู่กับคุณภาพของไต การดูแลตนเอง และการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้ภูมิต้านทานไปทำลายไตใหม่

2. การล้างไตทางช่องท้อง ปรับสมดุลของน้ำ เกลือแร่ รวมไปถึงสารเคมีต่าง ๆ เพื่อฟอกของเสียในเลือด จำนวน 4-6 ครั้งต่อวัน

3. การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ใช้เครื่องกรองในการทำความสะอาดเลือดเพื่อย้อนกลับมาในตัวผู้ป่วย วิธีนี้ต้องรักษา 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ครั้งละ 4 ชั่วโมง และผู้ป่วยจะต้องเดินทางไปรักษาที่โรงพยาบาล หรือ ศูนย์ไตเทียม เท่านั้น

4. การรักษาแบบประคับประคอง สำหรับผู้ป่วยที่มีโรคอื่นร่วมด้วย เช่น โรคมะเร็งหรือโรคหัวใจและปอดรุนแรง ทางแพทย์จะพิจารณาให้รักษาแบบประคับประคองเท่านั้น

5. การปรับพฤติกรรม ผู้ป่วยควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต เช่น ควบคุมอาหาร งดเค็ม งดสูบบุหรี่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ไม่ซื้อยารับประทานเอง

“โรคไต” สาเหตุการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร เนื่องจากผู้ป่วยระยะแรกมักไม่แสดงอาการผิดปกติใดๆ จึงทำให้สูญเสียโอกาสสำคัญในการรักษา … คุณมีอาการเข้าข่ายเป็นโรคไตหรือไม่? ควรตรวจเช็กสุขภาพไต และตรวจคัดกรองโรคไต ก่อนจะสายเกิน