ต้องยอมรับว่ารถยนต์ไฟฟ้าหรือ EV Car คือเทรนด์ที่กำลังมาแรงในโลกยานยนต์ ด้วยจุดเด่นที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดการปล่อยคาร์บอนฟุตพรินต์สู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งสอดรับกับนโยบายหลักของรัฐบาลทั่วโลก ที่พยายามขับเคลื่อนเรื่องนี้กันอย่างจริงจังมากขึ้น
นอกจากนี้ รถยนต์ไฟฟ้ายังได้พัฒนาสมรรถนะขึ้นมาอย่างก้าวกระโดดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม เชื่อว่ายังมีอีกหลายคนที่ยังไม่กระจ่างว่ารถยนต์พลังงานไฟฟ้าทำงานอย่างไร รวมถึงมีมาตรฐานใดที่ผู้ผลิตใช้ในการทดสอบสมรรถภาพและมาตรฐานของรถ ติดตามหาคำตอบได้ในบทความนี้
ด้วยนวัตกรรมการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (EV: Electric Vehicle) ที่มีความก้าวหน้าอย่างมาก ทำให้ผู้บริโภคสามารถเลือกใช้รถยนต์ไฟฟ้าที่มาพร้อมกับระบบการขับเคลื่อนที่ตอบโจทย์กับตัวเองมากที่สุด โดยเราขอหยิบยกการทำงานของเครื่องยนต์ของมาให้รู้กันกับ 5 ประเภท ดังนี้
รถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด (Hybrid Electric Vehicle, HEV)
รถยนต์ HEV เป็นระบบการขับเคลื่อนที่ผสมผสานระหว่างการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงกับพลังงานไฟฟ้า โดยมีเครื่องยนต์สันดาปภายใน ทำหน้าที่ในการขับเคลื่อนรถยนต์ รวมถึงผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อการขับเคลื่อน โดยรถยนต์ HEV จะมีระบบอัตโนมัติที่คอยควบคุมว่าจะขับเคลื่อนรถยนต์ด้วยระบบมอเตอร์ไฟฟ้าหรือด้วยเครื่องยนต์นั่นเอง
จุดเด่น-จุดด้อยของ รถยนต์ HEV
จุดเด่นของรถยนต์ HEV คือ ลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิง จึงช่วยลดการเกิดมลพิษ มีการขับเคลื่อนที่เงียบและนุ่มนวล
จุดด้อยของรถยนต์ Hybrid คือ มีราคาค่อนข้างสูง และมีค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงสูงเช่นกัน
รถยนต์ไฟฟ้าปลั๊กอินไฮบริด (Plug-in Hybrid Vehicle, PHEV)
รถยนต์ PHEV มีลักษณะการขับเคลื่อนของเครื่องยนต์คล้ายกันกับ HEV แตกต่างตรงที่สามารถชาร์จแบตเตอรี่จากภายนอกได้ และสามารถขับเคลื่อนได้ด้วยระบบมอเตอร์ไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว
จุดเด่น-จุดด้อยของ รถยนต์ PHEV
จุดเด่นของรถยนต์ PHEV คือ มีกำลังเร่งแรงกว่ารถยนต์ไฮบริดทั่วไป และช่วยประหยัดพลังงานเชื้อเพลิงได้มากกว่า สามารถใช้ระบบไฟฟ้าในการขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จุดด้อยของรถยนต์ PHEV คือ มีราคาสูงกว่ารถยนต์ HEV และมีค่าใช้จ่ายในดูแลรักษาระบบค่อนข้างสูง
รถยนต์พลังงานไฟฟ้าแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicle, BEV)
สำหรับใครที่สงสัยว่ารถยนต์พลังงานไฟฟ้าแบตเตอรี่ ทำงานอย่างไร ขออธิบายว่า รถยนต์ BEV เป็นรถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อนแบบ 100% โดยมีแบตเตอรี่ขนาดใหญ่เป็นแหล่งพลังงาน โดยต้องใช้การชาร์จไฟจากภายนอกมาสะสมไว้ในแบตเตอรี่ ซึ่งเครื่องยนต์จะมีตัวแปลงกระแสไฟฟ้าดึงพลังงานจากแบตเตอรี่ไปใช้ในการควบคุมมอเตอร์ เพื่อขับเคลื่อนรถยนต์
จุดเด่น-จุดด้อยของรถยนต์ BEV
จุดเด่นของรถยนต์ BEV คือ มีการขับเคลื่อนที่นุ่มนวล เงียบสงบ ทั้งยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน และค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง ที่สำคัญคือไม่มีการปล่อยก๊าซเสีย จึงไม่สร้างมลภาวะในอากาศ เป็นมิตรกับโลก
จุดด้อยของรถยนต์ BEV คือ มีระยะด้านการขับขี่ที่จำกัด ต้องวางแผนการชาร์จไฟระหว่างทาง ซึ่งสถานีชาร์จอาจยังไม่ครอบคลุมสำหรับการเดินทางระยะไกลในปัจจุบัน
รถยนต์ไฟฟ้าเซลเชื้อเพลิง (Fuel Cell Electric Vehicle, FCEV)
อีกหนึ่งประเภทของรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่หลายคนอาจยังไม่รู้ว่าทำงานอย่างไร คือ FCEV ซึ่งเป็นรถยนต์ที่ใช้พลังไฟฟ้าเป็นแหล่งพลังงานหลักในการขับเคลื่อน แต่จะแตกต่างจากระบบอื่น ๆ ตรงที่จะใช้ก๊าซไฮโดรเจนที่อยู่ที่เซลล์เชื้อเพลิง เพื่อทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศจนเกิดเป็นพลังงานที่ส่งไปขับเคลื่อนรถยนต์ โดยผู้ขับขี่ต้องทำการเติมพลังงานไฮโดรเจนที่สถานีให้บริการ
จุดเด่น-จุดด้อยของรถยนต์ FCEV
จุดเด่นของรถยนต์ FCEV คือ ประหยัดพลังงานเชื้อเพลิง สามารถเติมไนโตรเจนเพื่อใช้ในการขับเคลื่อนรถยนต์ได้
จุดด้อยของรถยนต์ FCEV คือ เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุเพลิงไหม้ได้ เพราะต้องใช้ถังไฮโดรเจนความดันสูง เซลล์เชื้อเพลิงกำลังน้อย ไม่เหมาะกับการเร่งเครื่องแรง
รถยนต์ E-Power Technology
รถยนต์ E-Power Technology จะมีเครื่องยนต์สันดาปภายในที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในการสร้างพลังงาน และแปลงเป็นกระแสไฟฟ้าไปเก็บสะสมไว้ที่แบตเตอรี่ และแบตเตอรี่จะส่งกระแสไฟฟ้าไปยังมอเตอร์ไฟฟ้าเพื่อขับเคลื่อนรถยนต์
จุดเด่น-จุดด้อยของรถยนต์ E-Power Technology
จุดเด่นของรถยนต์ E-Power Technology คือ มีอัตราการเร่งที่รวดเร็ว ให้แรงบิดที่นุ่มนวล และไม่ต้องชาร์จไฟ สามารถขับขี่ทางไกลได้อย่างสะดวก
จุดด้อยของรถยนต์ E-Power Technology คือ มีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาค่อนข้างสูง เพราะต้องใช้ทั้งเครื่องยนต์สันดาปภายในอินเวอร์เตอร์ และมอเตอร์ไฟฟ้า
สำหรับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมรถยนต์ที่ต้องการต่อยอดธุรกิจ หรือกำลังเข้าสู่แวดวงรถยนต์ไฟฟ้า คงเห็นแล้วว่าชิ้นส่วนและแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้า คืออุปกรณ์หลักที่มีความจำเป็นในการผลิตรถยนต์ประเภทนี้ ดังนั้น หากผู้ประกอบการสามารถรักษาคุณภาพและสร้างมาตรฐานการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ให้เป็นที่ยอมรับ ย่อมสร้างโอกาสในการเติบโตของธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว
ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมรถยนต์ที่ต้องการตรวจชิ้นส่วนและแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้า ที่ TÜV SÜD มีบริการทดสอบแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า (EV Battery Test) รวมถึงสามารถทดสอบชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้า ทดสอบรถยนต์ไฟฟ้า อีกทั้งยังมีการรับรองมาตรฐานแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้าให้เป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐานและข้อบังคับสากล เพราะเราคือศูนย์ทดสอบแบตเตอรี่รถยนต์ (EV Battery Lab) ที่ครอบคลุมและครบครันที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
รถยนต์ไฟฟ้าทำงานอย่างไร อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://www.checkraka.com/car/?fuel_type=4078&quicksearch_order=306,DESC-326,ASC