ผู้เขียน หัวข้อ: ซ่อมบำรุงอาคาร: เตรียมพร้อมตรวจเช็คหลังคารั่วซึม  (อ่าน 97 ครั้ง)

siritidaphon

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 238
  • รับโพสเว็บ รับจ้างโพส โปรโมทเว็บ รับจ้างโปรโมทเว็บ
    • ดูรายละเอียด
ซ่อมบำรุงอาคาร: เตรียมพร้อมตรวจเช็คหลังคารั่วซึม

วิธีเช็คหลังคารั่วซึม

หลังคาเป็นองค์ประกอบปักจัยหลักสำคัญของบ้านที่ช่วยปกป้อง กันความร้อนจากดวงอาทิตย์และ แสงแดด แรงลม และพายุฝน ดังนั้นจึงควรหมั่นสังเกตและตรวจสอบจุดบริเวณต่าง ๆบนพื้นที่หลังคาอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะสำหรับบ้านเก่า หรืออาคารที่อยู่อาศัยมาได้สักระยะ อาจพบปัญหาหลังคารั่วซึมในช่วงฤดูฝนหรือช่วงที่มีพายุเข้าได้ มักจะทำให้เกิดรอยคราบน้ำ ราดำ และสีพอง หลุด ลอกล่อนบนฝ้าเพดานและผนังบ้านอาคาร มาสังเกตุ 5 วิธีแบบง่ายๆในการตรวจเช็คสภาพหลังคา

    สังเกตรูปทรงหลังคาว่าได้ระดับที่สมดุลสมมาตร ไม่บิดเบี้ยวเอียงหรือผิดรูป กระเบื้องที่ใช้มุงหลังคายังคงต้องอยู่ตามแนวเดิมไม่เคลื่อนหรือผิดตำแหน่ง เพราะอาจจะทำให้น้ำฝนรั่วซึมเข้าสู่บ้านและอาคารได้ บริเวณสันหลังคาต้องปิดมิดชิดแนบสนิท และไม่มีรอยแตกร้าว จะเป็นเหตุให้น้ำรั่วซึมไหลไปสะสมอยู่ภายใต้หลังคา


    กระเบื้องหลังคาและวัสดุที่ใช้มุงหลังคาแตกร้าว ผุกร่อน เสื่อมสภาพ เป็นอีกสาเหตุของของหลังคารั่วซึม เพราะหลังคาเป็นส่วนที่ต้องรับสภาพแวดล้อมอากาศที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิความร้อนจากแสงแดด แรงลม พายุฝน หลังคาจะเป็นปราการด้านแรกที่จะเกิดปัญหารั่วซึมได้ง่ายกว่าส่วนอื่น ๆ ควรตรวจสอบดูแลเป็นประจำว่าหลังคายังคงมีสภาพความพร้อม สมบูรณ์มีรอยแตกร้าว ผุกร่อนหรือไม่ และสังเกตถึงสีหลังคาว่ามีรอยด่างดำเกิดขึ้นไหม เพราะสีที่เปลี่ยนเป็นสัญญาณจากการสะสมของเชื้อรา


    อีกหนึ่งสาเหตุที่มักมองข้าม คือ การตรวจสอบสกรูน๊อตยึดกระเบื้องกับโครงหลังคา เพราะผุกร่อน เป็นสนิม มีรอยรั่วตามแนวสกรูที่ยึดกระเบื้องกับโครงหลังคา ทำให้น้ำรั่วซึมลงบริเวณนี้ได้ จะเห็นได้ชัดจากรอยคราบน้ำ ที่เกิดจากหลังฝนหยุดตก ซึ่งเป็นอีกสาเหตุสำคัญที่ควรรีบแก้ไขโดยการใช้แผ่นปิดรอย ต่อแล้วทากันซึมภายนอกทับอีกชั้น


    ตรวจสอบรางน้ำและท่อระบายน้ำ เพราะรางน้ำและท่อระบายน้ำมีปัญหา จะทำให้การระบายน้ำฝนจากหลังคามีประสิทธิภาพที่ลดลง ทำให้น้ำขังและจะไหลย้อนเข้าไปซึมที่ใต้หลังคาได้ ดังนั้นควรทำความสะอาดรางน้ำและท่อระบายน้ำ เพื่อไม่ให้มีสิ่งสกปรกหรือเศษใบไม้สะสมอุดตันช่องทางระบายน้ำ


    สังเกตคราบน้ำบนฝ้า นอกจากการสังเกตจากภายนอกแล้ว สังเกตคราบน้ำบนฝ้าขณะฝนตกหรือหลังฝนตก รวมไปถึงสังเกตน้ำไหลที่ผนังกรณีที่มีการรั่วซึมอย่างหนัก หากปล่อยไว้นานเกินไปอาจทำให้ฝ้าเพดานเปื่อยและถล่มลงมาได้