ผู้เขียน หัวข้อ: ประเมินระดับอาการเมื่อเป็นโควิด 19  (อ่าน 42 ครั้ง)

siritidaphon

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 156
  • รับโพสเว็บ รับจ้างโพส โปรโมทเว็บ รับจ้างโปรโมทเว็บ
    • ดูรายละเอียด
ประเมินระดับอาการเมื่อเป็นโควิด 19
« เมื่อ: วันที่ 29 สิงหาคม 2024, 20:16:25 น. »
ประเมินระดับอาการเมื่อเป็นโควิด 19

อย่างที่ทราบกันดีว่าผู้ป่วยโควิด-19 เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นหากตรวจพบว่าเป็นโควิด-19 การประเมินอาการตนเองว่าเป็นผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว สีเหลือง สีแดง เพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม จะช่วยลดความรุนแรงและงดอัตราการเสียชีวิตที่อาจเกิดขึ้นได้

ประเมินอาการผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว

ผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว คือ ผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มที่ไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อย ได้แก่

    มีไข้ต่ำ ๆ
    ไอ
    เจ็บคอ
    มีน้ำมูก
    ไม่รับกลิ่น ไม่รู้รส
    ตาแดง
    ผื่น
    ถ่ายเหลว
    หายใจปกติ ไม่เหนื่อย
    ไม่มีปอดอักเสบ
    สามารถรักษาแบบแยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation), หอผู้ป่วยเฉพาะกิจ (Hospitel), ศูนย์พักคอย (Community Isolation), โรงพยาบาลสนาม, โรงพยาบาลต่าง ๆ

ประเมินอาการผู้ป่วยกลุ่มสีเหลือง

ผู้ป่วยกลุ่มสีเหลือง คือ ผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มที่มีอาการไม่รุนแรง ได้แก่

    อ่อนเพลีย
    แน่นหน้าอก
    เหนื่อยหอบ
    หายใจลำบาก หายใจเร็ว
    ไอแล้วเหนื่อย
    เวียนศีรษะ
    อาเจียน
    ปอดอักเสบ
    ถ่ายเหลวไม่ต่ำกว่า 3 ครั้งต่อวัน
    อาการแทรกซ้อนจากความเสี่ยงหรือโรคประจำตัวอย่าง อายุมากกว่า 60 ปี โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคปอดอื่น ๆ โรคไตเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง เบาหวานที่คุมไม่ได้ ภาวะอ้วนน้ำหนักมากกว่า 90 กิโลกรัม ตับแข็ง และภูมิคุ้มกันต่ำ
    เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล

ประเมินระดับอาการเมื่อเป็นโควิด-19
ประเมินอาการผู้ป่วยกลุ่มสีแดง

ผู้ป่วยกลุ่มสีแดง คือ ผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มที่มีอาการหนักและรุนแรง ได้แก่

    หอบเหนื่อยตลอดเวลา
    พูดไม่เป็นประโยค
    หายใจแล้วเจ็บหน้าอก หายใจลำบาก
    แน่นหน้าอกตลอดเวลา
    ซึม ตอบสนองช้า
    ไม่รู้สึกตัว
    ปอดบวม
    ปอดอักเสบรุนแรง
    ออกซิเจนลดลง
    เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด

เตรียมพร้อมรับการรักษาเมื่อป่วยโควิด-19

    โทร 1330, 1668, 1669 เพื่อแจ้งเข้ารับการรักษา โดยให้ข้อมูลและแจ้งอาการอย่างละเอียดที่สุด
    แยกตัวเองออกจากผู้อื่นไม่อยู่กับใคร
    งดออกจากที่พักหรือเดินทางข้ามจังหวัด
    สวมใส่แมสก์ตลอดเวลาและแยกของใช้ส่วนตัว
    สังเกตอาการอย่างใกล้ชิด หากมีไข้ให้กินพาราเซตามอลและเช็ดตัวลดไข้
    ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์ทุกครั้ง โดยเฉพาะหลังเข้าห้องน้ำ
    กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ทำใจให้สบาย ไม่เครียด
    เตรียมตัวให้พร้อมหากต้องไปรักษาที่โรงพยาบาล ทั้งเสื้อผ้า ของใช้ส่วนตัว ของใช้จำเป็น (เช่น ผ้าอนามัยของผู้หญิง) ยาโรคประจำตัว (ถ้ามี) โทรศัพท์มือถือ สายชาร์จ ภาชนะส่วนตัวที่จำเป็น (เช่น จาน ชาม ช้อนส้อม แก้วน้ำ กระติกน้ำ) โดยให้เพียงพอกับระยะเวลา 14 วัน


อย่างไรก็ตามหากผู้ป่วยโควิด-19 มีอาการแย่ลงจะต้องอยู่ในความดูแลของบุคลากรทางการแพทย์โดยเร็วที่สุด